เมล็ดกาแฟ (Coffee Bean) สีน้ำตาลที่เราเห็นกันบ่อยๆ ตามร้านกาแฟนั้น คือเมล็ดของผลเชอร์รี่จากต้นไม้พุ่มในวงศ์ Coffea ผลกาแฟที่สุกแล้วตอนอยู่บนต้นจะเป็นผลไม้สีแดง ก่อนจะนำไปแปรรูปเป็นเมล็ดกาแฟด้วยการปอกเปลือกนอกออกแล้วนำไปตากแห้ง ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการคั่วกาแฟ จนกลายเป็นเมล็ดกาแฟที่เราคุ้นเคยกัน ล่าสุด IAC ทำบราซิลกลายเป็นโรงไฟฟ้าตลาดกาแฟโลก

เมล็ดกาแฟ ทำบราซิลกลายเป็นโรงไฟฟ้าตลาดกาแฟโลกไร้คาเฟอีน

เมล็ดกาแฟ ส่งผลให้รสนิยมเรื่องการบริโภคกาแฟของคนเรามีความแตกต่าง ไม่ใช่แค่ความชอบในแต่ละเมนูที่ปรุงแต่งอย่างหลากหลาย แต่บางคนก็ชอบดื่มกาแฟที่มีคาเฟอีน บางคนก็ชอบแบบไม่มีคาเฟอีนหรือที่เรียกว่า ดีแคฟ เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการนอนหลับ เราจึงได้เห็นกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีนถูกผลิตออกมาเป็นทางเลือกให้กับคอกาแฟ ในสหรัฐอเมริกาเองมีข้อมูลจากสมาคมกาแฟแห่งชาติ (National Coffee Association-NCA) เผยว่าการบริโภคกาแฟที่ไม่มีคาเฟอีนมีสัดส่วนประมาณ 10% ของตลาดในสหรัฐอเมริกา

ล่าสุด สถาบันพืชไร่กัมปินาส หรือไอเอซี (Instituto Agronomico de Campinas-IAC) ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยกาแฟชั้นนำที่จัดหาต้นกาแฟที่ให้ผลผลิตสูงจำนวนมาก ช่วยให้บราซิลกลายเป็นเหมือนโรงไฟฟ้าในตลาดกาแฟโลก โดยจัดหากาแฟมากกว่า 1 ใน 3 ของตลาด สถาบันดังกล่าวได้ใช้เวลาถึง 20 ปีในการพัฒนาสายพันธุ์กาแฟอารบิกาตามธรรมชาติที่ไม่มีคาเฟอีน ซึ่งนักวิจัยคิดว่าการพัฒนานี้จะมีศักยภาพในเชิงพาณิชย์อย่างมาก และตอนนี้นักวิจัยกำลังเริ่มทำการทดลองภาคสนามในบางสายพันธุ์กาแฟในระดับภูมิภาค โดยผสมข้ามพันธุ์ต้นกาแฟที่มีปริมาณคาเฟอีนต่ำโดยธรรมชาติ โดยอาศัยคลังเชื้อพันธุ์พืชของพวกเขา

หากปลูกเมล็ดกาแฟตามธรรมชาติไร้คาเฟอีนประสบความสำเร็จ พันธุ์กาแฟที่ได้ใหม่อาจหาตลาดเฉพาะในภูมิภาคที่มีการบริโภคขนาดใหญ่ เช่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกาได้ อานิสงส์ต่อมาก็คือบริษัทที่ขายกาแฟแบบไม่มีคาเฟอีน ก็จะได้ประโยชน์จากต้นทุนที่ลดลง

บราซิลเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลก

นอกจากประเทศบราซิลจะเป็นประเทศที่ค่อนข้างใหญ่แล้ว ยังมีอุตสาหกรรมกาแฟ หรือในภาคการผลิตกาแฟที่ใหญ่เอามากๆ รู้หรือไม่ว่า กาแฟของบราซิลนี้ หากเทียบกับเปอร์เซ็นต์ของกาแฟทั้งโลก จะมีปริมาณถึง 1 ใน 3 ของโลกเลยทีเดียว ซึ่งเท่ากับว่า ประเทศแห่งนี้เป็นทั้งผู้ผลิต และผู้ส่งออกกาแฟรายใหญ่ที่สุดในโลกในปัจจุบันนี้ โดยในประเทศบราซิลนั้น มีการผลิตกาแฟมากถึง 2.68 ล้านตันต่อปี ลองนึกดูว่าหากคิดเป็นแก้ว จะได้กาแฟทั้งหมดกี่แก้ว

และด้วยการผลิตและส่งออกในปริมาณที่มากขนาดนี้ ทำให้พฤติกรรมการผลิต และการตลาดของประเทศ ส่งผลกระทบต่อราคากาแฟในตลาดทั่วโลก และเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบราซิล ก็จะส่งผลต่อราคากาแฟด้วย ยกตัวอย่างเช่น หากในประเทศบราซิลมีภัยแล้ง ราคากาแฟทั่วโลกก็จะพุ่งสูงขึ้นไปด้วย

อย่างที่บอกไปว่า ประเทศบราซิลเป็นประเทศผู้ผลิตกาแฟ ที่ส่งออกและผลิตเมล็ดกาแฟมากที่สุดในโลก ดังนั้นหลายคนอาจจะคิดว่า ในเมื่อส่งออกมากถึงขนาดนี้ ดังนั้นในเรื่องของคุณภาพก็ไม่น่าจะควบคุมได้

รสชาติของกาแฟบราซิล

คนส่วนใหญ่เชื่อว่า หากไปที่บราซิลเป็นประเทศผลิตกาแฟที่ยิ่งใหญ่ถึงขนาดนี้ ดังนั้นกาแฟส่วนใหญ่น่าจะเป็นกาแฟ commercial grade ซึ่งก็เป็นแบบนั้น คนส่วนใหญ่ที่ไปบราซิล มักจะซื้อกาแฟ espresso blend ติดมือกลับบ้านอยู่เสมอ แต่หลายคนอาจจะลืมไปว่า ที่ประเทศแห่งนี้ก็ทำการผลิตกาแฟสเปเชียลตี้ด้วยเหมือนกัน

กาแฟสเปเชียลตี้ของประเทศบราซิลก็ไม่ใช่เล่นๆ เป็นกาแฟคุณภาพ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวค่อนข้างโดดเด่นเลยทีเดียว โดยส่วนมากแล้วเมล็ดกาแฟที่ได้จากปลูกในบราซิลจะมีรสหวาน มีความเข้มข้น มีกลิ่นของคาราเมลและช็อกโกแลตอย่างชัดเจน แน่นอนว่ามีบอดี้ที่ค่อนข้างหนัก และความเป็นกรดที่ค่อนข้างต่ำ

ด้วยความเป็นกรดที่ค่อนข้างต่ำนี่เอง ทำให้หลายคนประเมินคุณภาพของกาแฟบราซิลต่ำจนเกินไป จนหลายคนรู้สึกว่า กาแฟบราซิลครั้งเดียวพอ แต่ถึงอย่างนั้น กาแฟบราซิลก็ยังคงเรียกได้ว่าเป็นกาแฟคุณภาพ อยากให้ลองเปิดใจดูสักนิด แล้วจะพบความน่าสนใจในกาแฟบราซิลนี้

ความหลากหลายในกาแฟบราซิล

เนื่องจากประเทศบราซิลเป็นประเทศใหญ่ ดังนั้นภูมิภาคที่ปลูกกาแฟจึงมีมากมายหลากหลายด้วย โดยภูมิภาคที่ปลูกกาแฟของบราซิลจะมีอยู่ด้วยกันหลักๆ 14 ภูมิภาค กระจายอยู่ทั่ว 7 รัฐในประเทศ ด้วยเหตุนี้เองเมล็ดกาแฟของบราซิลจึงมีความหลากหลายที่สูงมากๆ หากลองสังเกตบนถุงกาแฟ อาจพบชื่อของภูมิภาคเหล่านี้ที่มีมากมาย

ได้แก่ Minas Gerais (Sul de Minas, Cerrado Mineiro, Chapada de Minas, Matas de Minas), São Paulo (Mogiana, Centro-Oeste), Espírito Santo (Montanhas do Espírito Santo, Conilon Capixaba), Bahia (Planalto da Bahia, Cerrado da Bahia และ Atlantico Baiano), Paraná (Norte Pionerio do Paraná), Rondonia หรือแม้แต่ใน Rio de Janeiro ก็ยังสามารถเป็นภูมิภาคปลูกกาแฟด้วยเช่นกัน

และด้วยพื้นที่ปลูกที่ต้องการเมล็ดกาแฟมีมากมายหลากหลายนี่เอง พันธุ์กาแฟที่ใช้ปลูกที่นี่จึงหลากหลายตามไปด้วย โดยพันธุ์กาแฟที่สามารถพบได้ในประเทศนี้ได้แก่ Bourbon, Mundo Novo, Icatú, Catuaí, Iapar, Catucaí และยังมีอีกมากมายหลากหลายพันธุ์เลยทีเดียว

พื้นที่ของไร่กาแฟก็มีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลาย มีตั้งแต่ไร่กาแฟที่เป็นของครอบครัวขนาดเล็ก ที่มีพื้นที่น้อยกว่า 10 เฮกตาร์ ไปจนถึงไร่กาแฟขนาดใหญ่ที่มีพื้นที่กว่า 2,000 เฮกตาร์เลยทีเดียว ด้วยความหลากหลายที่มีมากมายเหล่านี้ ทำให้เราไม่สามารถตัดสินกาแฟบราซิลว่าเป็นกาแฟด้อยคุณภาพเลยทีเดียว หากคุณยังไม่ลองสัมผัสกับความหลากหลายที่มีมากมายเหล่านี้

เมล็ดกาแฟ

ชนิดและสายพันธุ์กาแฟ

คอกาแฟคงคุ้นหูกับคำว่า กาแฟอราบิก้า (Arabica) และกาแฟโรบัสต้า (Robusta) ซึ่งทั้ง 2 ชื่อนี้ก็คือสายพันธุ์ของเมล็ดกาแฟ ที่คนส่วนใหญ่ในโลกนิยมทานนั่นเอง ซึ่งบอกเลยว่าเมล็ดกาแฟทั้งสองสายพันธุ์นี้ก็มีความต่างกันอยู่มากพอสมควร ทั้งในเรื่องของการปลูก ลักษณะ กลิ่นและรสชาติ รวมไปถึงรสสัมผัสที่ได้ แต่หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าจริงๆ แล้ว สายพันธุ์ของกาแฟมีอีกมากมายหลายชนิด แต่ที่พอจะคุ้นหูจะมีอยู่ด้วยกัน 4 สายพันธุ์หลักๆ

  • กาแฟอราบิก้า (Arabica)
  • กาแฟโรบัสต้า (Robusta)
  • กาแฟลิเบอริก้า (Liberica)
  • กาแฟเอ็กซ์เซลซ่า (Excelsa)

ในส่วนของกาแฟเอ็กซ์เซลซ่า (Excelsa) และลิเบอริก้า (Liberica) ด้วยความที่รสชาติเมล็ดกาแฟไม่ดีเท่าที่ควรจึงไม่นิยมปลูก และไม่ค่อยเป็นที่รู้จัก ซึ่งสายพันธุ์กาแฟที่รสชาติดี และคนนิยมปลูกเพื่อการค้าก็จะมีแค่ 2 พันธุ์ คืออราบิก้า (Arabica) กับ โรบัสต้า (Robusta) นั่นเอง

การแปรรูปเมล็ดกาแฟจากไร่สู่โรงงานคั่ว

การเลือกเมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพ เกษตรกรจะใช้มือคอยเก็บเมล็ดกาแฟที่สมบูรณ์ โดยจะเลือกเก็บผลที่สุกแล้วเต็มที่ เพื่อให้กาแฟจะมีรสชาติดีที่สุด โดยกาแฟจะมีสีแดงลักษณะคล้ายเชอรี่ เราเรียกมันว่า กาแฟเชอรี่ (Coffee Cheery)

การแปรรูปผลผลิตกาแฟ มีความสำคัญต่อการผลิตสารกาแฟให้มีคุณภาพและรสชาติเป็นที่ยอมรับของตลาด ทั้งภายในและต่างประเทศ ที่ให้คุณภาพดีควรมีวิธีการแปรรูปดังต่อไปนี้ คือ การทำสารกาแฟโดยวิธีเปียก (Wet Method or Wash Method) เป็นวิธีการที่นิยมกันแพร่หลาย เพราะจะได้สารกาแฟที่มีคุณภาพ รสชาติดีกว่า ราคาสูงกว่าวิธีตากแห้ง (Dry Method) โดยมีขั้นตอนดังนี้

  1. การปอกเปลือก (Pulping)
  2. การกำจัดเมือก (demucilaging)
  3. การตากหรือการทำแห้ง (Drying)
  4. การบรรจุ (Packing)
  5. การสีกาแฟกะลา (Hulling]

เมื่อกาแฟมีความชื้นที่เหมาะสมแล้วนั้น เราจะทำการสีเอากะลาแยกออกจากตัวเมล็ดกาแฟบ้านเราเรียกว่า สารกาแฟ ซึ่งขั้นตอนนี้เป็นเมล็ดกาแฟที่พร้อมเข้าสู่กระบวนการคั่วแล้ว แต่ว่าเรายังจำเป็นต้องทำการคัดเลือกสารกาแฟ ด้วยแรงงานคนและคัดขนาดด้วยเครื่องจักร ซึ่งในการคัดแยกนี้จะทำการแยกเอา สีของเมล็ดถูกใช้เป็นเกณฑ์ เพื่อแยกออกเป็นเมล็ดกาแฟที่สุกแล้ว เมล็ดที่ยังไม่สุก และเมล็ดที่เน่าเสีย และกำจัดส่วนที่ไม่ต้องการออกไปสารกาแฟที่ได้ผ่านการคัดเลือกแล้วจะถูกนำส่งไปเก็บในที่สะอาด ซึ่งมีอุณหภูมิเหมาะสมและมีขั้นตอนการดูแลรักษาอย่างดี เพื่อให้ได้เมล็ดกาแฟที่มีคุณภาพเพื่อเตรียมพร้อมส่งเข้าโรงคั่ว

การคั่วกาแฟ เป็นกระบวนการที่ทำให้กาแฟมีหน้าตาเป็นสีน้ำตาลที่เราคุ้นเคยกันดี หลายคนไม่เคยเห็นเมล็ดกาแฟดิบ เมล็ดดิบนั้นมีกลิ่นที่ไม่ค่อยน่าอภิรมย์เท่าไหร่ (ส่วนใหญ่จะมีแต่กลิ่นเหม็นเขียว) การคั่วจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีมากมายกับกรด และน้ำตาลในเมล็ดกาแฟ ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นหลักๆ มีสองอย่างด้วยกันคือ Caramelization และ Maillard reaction และปฏิกิริยาเคมีเหล่านี้นี่เองที่ทำให้เกิดสีและรสชาติของกาแฟที่เรารู้จักกันดี

ในสมัยโบราณ เมล็ดกาแฟมักจะถูกคั่วในกระทะบนเตาไฟ ซึ่งก็ยังเป็นวิธีที่ยังนิยมใช้ตามแหล่งเพาะปลูกกาแฟหลายแห่งทั่วโลก ทุกวันนี้การคั่วกาแฟในเครื่องคั่วกาแฟแบบ Drum น่าจะเป็นวิธีที่ใช้กันมากที่สุด ซึ่งเครื่องคั่วกาแฟแบบ Drum เองก็แทบไม่ได้เปลี่ยนหน้าตาไปเท่าไหร่นับตั้งแต่ถูกคิดค้นขึ้นมาเมื่อ 100 ปีที่แล้ว

 

กาแฟที่แปรรูปมาจากเมล็ดกาแฟซึ่งมาจากประเทศผู้ผลิตกาแฟรายใหญ่ที่สุดในโลก อย่าคิดว่ากาแฟบราซิลนั้นจะเป็นกาแฟ commercial grade ทั้งหมด จากที่เห็นจะพบว่า ยังมีกาแฟบราซิลอีกมากมายที่พิถีพิถันในการปลูก การโพรเซส ไปจนถึงการคั่ว จนสามารถดันให้ไปถึงกาแฟเกรดสเปเชียลตี้ได้ หลายคนน่าจะเคยดื่มกาแฟบราซิลกันอยู่แล้ว แต่อยากให้ลองดื่มให้หลากหลายขึ้นไปอีก เพราะอย่างที่บอกว่ากาแฟบราซิลมีอยู่ด้วยกันมากมายหลากหลายมาก การหามาดื่มให้ได้นั้นนับว่าคุ้มค่าเป็นอย่างยิ่งเลยทีเดียว

 

เรื่องราวรอบโลกอื่นๆ ที่น่าสนใจ

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านเรื่องรอบโลกได้ที่  ommachi.net

สนับสนุนโดย  ufabet369