เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คือสวัสดิการที่ทางภาครัฐจัดสรรให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายค่าครองชีพในแต่ละเดือน บนสื่อออนไลน์เรื่องเตรียมเพิ่มเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เดือน ก.ค. พบว่าเนื้อหาดังกล่าวเป็นข้อมูลเท็จ ปัจจุบันรัฐบาลยังคงยึดตามหลักเกณฑ์เดิม 600 บาท / 700 บาท / 800 บาท และ 1,000 บาทตามช่วงเกณฑ์อายุที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ยังคงยึดตามหลักเกณฑ์เดิม

เบี้ยผู้สูงอายุคืออะไร

เบี้ยผู้สูงอายุ หรือเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ คือ สวัสดิการที่ทางภาครัฐ จัดสรรให้แก่ผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป เพื่อเป็นเงินช่วยเหลือและแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายค่าครองชีพในแต่ละเดือน เนื่องจากรายได้ จากอาชีพผู้สูงอายุที่ทำอยู่ในแต่ละเดือน อาจไม่เพียงพอต่อการใช้จ่าย โดยแต่ละปีจะมีการเปิดให้ผู้ที่มีคุณสมบัติรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายใหม่มาลงทะเบียนเพื่อรับสิทธิ

ใครบ้างมีสิทธิได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ผู้ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือต้องมีคุณสมบัติดังนี้

  • มีสัญชาติไทย
  • มีอายุ 59 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สามารถลงทะเบียนล่วงหน้าก่อนอายุครบ 60 ปี ตัวอย่างวิธีการคำนวณอายุ เช่น ลงทะเบียนของปี 2565 ต้องเป็นผู้สูงอายุที่เกิดก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2504  ส่วนผู้สูงอายุที่ทะเบียนราษฎร ระบุเฉพาะปีเกิด ให้ถือว่าเกิดวันที่ 1 มกราคมของปีนั้น ๆ
  • ผู้สูงอายุที่มีบุตรทำงานในหน่วยงานรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และได้รับเงินบำนาญพิเศษตลอดชีวิตแทนจากการที่บุตรปฏิบัติหน้าที่เพื่อประเทศจนร่างกายพิการ ทุพลภาพ หรือเสียชีวิต ยังสามารถรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุได้ด้วย รวมถึงผู้สูงอายุที่ได้รับบัตรสวัสดิการคนจนจากรัฐ ก็สามารถได้สิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุอีกด้วย

วิธีหลีกเลี่ยงถูกเรียกเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุคืน

ต้องไม่เป็นผู้สูงอายุที่ได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อบจ. หรือ อบต.) อาทิ เงินบำนาญ เบี้ยหวัด รวมถึงเงินอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกับเงินเบี้ยยังชีพ เช่น ผู้สูงอายุที่เคยทำงานและได้รับเงินเดือน มีรายได้ประจำ หรือผลตอบแทนอื่น ๆ จากหน่วยงานรัฐ หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

สิทธิและสวัสดิการที่ผู้สูงอายุจะได้รับมีอะไรบ้าง

นอกจากจะรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็้นเงินช่วยเหลือแล้ว ผู้สูงอายุยังมีสิทธิ์ที่จะได้รับสิทธิและสวัสดิการผู้สูงอายุอื่น ซึ่งแบ่งเป็น 16 ด้าน ดังนี้

  1. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ตั้งแต่ 600 – 1,000 บาท/คน/เดือน
  2. ลดค่าโดยสารยานพาหนะสาธารณะ ครึ่งราคา อาทิ รถไฟ, รถเมล์ขสมก., รถไฟฟ้า MRT, รถไฟฟ้า BTS, รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์, รถบขส., เรือด่วนเจ้าพระยา และเรือคลองแสนแสบ
  3. ลดหย่อนภาษีแก่บุตรกรณีที่เลี้ยงดูบิดามารดาที่สูงอายุ 3 หมื่นบาทต่อผู้สูงอายุ 1 คนต่อปี
  4. ขอปรับสภาพที่อยู่อาศัย สำหรับผู้สูงอายุที่ยากจน มีที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงและเหมาะสม สามารถขอปรับสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวกให้เหมาะสมปลอดภัย เหมาจ่าย 22,500 บาท หรือ 40,000 บาทต่อคน
  5. ด้านกู้ยืมเงินทุนปลอดดอกเบี้ย เพื่อประกอบอาชีพจากกองทุนผู้สูงอายุได้ คนละไม่เกิน 3 หมื่นบาท หรือรวมกลุ่ม ไม่น้อยกว่า 5 คน กู้ได้ไม่เกิน 1 แสนบาท แต่ต้องมีผู้ค้ำประกัน ระยะเวลาจ่ายหนี้เป็นเวลา 3 ปี
  6. สิทธิด้านอาชีพ ผู้สูงอายุสามารถขอคำปรึกษา แนะนำ และสมัครงาน รวมทั้งฝึกอาชีพ
  7. ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่เหมาะสมในพื้นที่สาธารณะ อาทิ พิพิธภัณฑ์ โบราณสถาน หอจดหมายเหตุแห่งชาติ ฯลฯ ประกอบด้วย ลิฟท์ ราวบันได ทางลาด ที่จอดรถ ห้องน้ำ ฯลฯ
  8. สิทธิด้านการศึกษาเพื่อผู้สูงอายุได้เรียนรู้ สอดคล้องกับความต้องการให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
  9. สิทธิด้านการแพทย์ ผู้สูงอายุสามารถเข้ารับบริการดูแลสุขภาพต่าง ๆ ผ่านช่องทางพิเศษ
  10. การช่วยเหลือด้านกฎหมาย กระทรวงยุติธรรม มีบริการให้คำปรึกษา ช่วยเหลือทางกฎหมายแก่ผู้สูงอายุ เช่น ให้เงินค่าจ้างทนาย ค่าธรรมเนียมขึ้นศาล ค่าวางเงินประกันปล่อยตัวชั่วคราว เป็นต้น
  11. ยกเว้นค่าเข้าชมสถานที่ของรัฐแก่ผู้สูงอายุ เช่น พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติ สวนพฤกษศาสตร์ สวนสัตว์ เป็นต้น
  12. เปิดให้ผู้สูงอายุทำกิจกรรมโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น สถานกีฬาต่าง ๆ ส่วนศูนย์กีฬาในร่ม ได้ลดค่าสมัครสมาชิกครึ่งราคา
  13. ด้านบริการสงเคราะห์ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ถูกทารุณกรรม ถูกทอดทิ้ง มีอันตราย หรือถูกหาประโยชน์ โดยจัดหาที่พักอาศัยปลอดภัย ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ
  14. สิทธิด้านอาหารและเครื่องนุ่งห่ม กรณีผู้สูงอายุที่ประสบปัญหา สามารถขอรับเงินช่วยเหลือได้คนละไม่เกิน 3,000 บาท ปีละไม่เกิน 3 ครั้ง
  15. กรณีผู้สูงอายุยากจนและขาดผู้ดูแล สามารถขอใช้บริการศูนย์พัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุได้
  16. กรณีผู้สูงอายุยากจนและเสียชีวิต ญาติสามารถขอรับเงินจัดการศพรายละไม่เกิน 3,000 บาท ได้ภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันออกใบมรณะบัตร

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

การลงทะเบียนรับสิทธิเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 59 ปีบริบูรณ์สามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุล่วงหน้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม ของปีนั้น และเมื่ออายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีถัดไป ก็จะได้รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุตั้งแต่เดือนตุลาคม ในปีนั้น ๆ โดยสามารถไปลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพด้วยตัวเองได้ตั้งแต่วันที่ 1-30 พฤศจิกายนของทุกปี

ทั้งนี้ผู้สูงอายุสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ตั้งแต่เดือนตุลาคมของทุกปีเป็นต้นไป โดยจะต้องเป็นผู้ที่เกิดก่อนวันที่ 2 กันยายน – 1 ตุลาคม ของปีนั้น ๆ จึงจะลงทะเบียนล่วงหน้าได้ โดยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินเบี้ยยังชีพถัดจากเดือนที่มีอายุครบ 60 ปี นั่นก็คือ เดือนตุลาคม ปีนั้น ซึ่งก็คือ อายุครบ 60 ปีเดือน ตุลาคม 2565 นั่นเอง

หลักฐานการลงทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

การเตรียมหลักฐานเพื่อลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะต้องเตรียมเอกสาร ประกอบด้วย

  • กรณีลงทะเบียนด้วยตนเอง
  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ชุด
  2. สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ชุด
  3. สำเนาสมุดบัญชีเงินฝาก (ออมทรัพย์) จำนวน 1 ชุด และสำเนา 1 ชุด
  • กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถไปลงทะเบียนได้ด้วยตัวเอง ต้องเตรียมเอกสารเพิ่มคือ
  1. หนังสือมอบอำนาจ (ยื่นแบบฟอร์มให้ติดต่อเจ้าหน้าที่โดยตรง)
  2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
  3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้รับมอบอำนาจ พร้อมสำเนา 1 ชุด
  • ขั้นตอนการยื่นขึ้นทะเบียน

การยื่นขึ้นทะเบียนและแนวทางการปฎิบัติของผู้สูงอายุ ประกอบด้วย

  1. ประกาศและประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุทราบสิทธิของตนเอง
  2. ลงทะเบียนตามวัน เวลา สถานที่ที่กำหนด (ในวันและเวลาราชการ)
  3. ให้ผู้สูงอายุลงทะเบียนได้ตามแบบรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ ด้วยตนเอง

สถานที่ในการขึ้นทะเบียน

  • จุดบริการ ใน กทม.

สำนักงานเขต 50 เขต

  • กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)

ฝ่ายพัฒนาชุมชนและสวัสดิการสังคมสำนักงานเขตป้อมปราบ ศัตรูพ่าย กทม.โทร.0-2282-4196/

  • องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
อบต.(องค์การบริหารส่วนตำบล) หรือ เทศบาลที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน

ช่องทางการจ่ายเงิน

การรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้น ผู้สูงอายุสามารถดำเนินการได้ด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทน ภาครัฐจะโอนเงินผ่านธนาคารที่ผู้สูงอายุแจ้งมาให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน ถ้าวันที่ 10 ของเดือนใดตรงกับวันหยุดเสาร์อาทิตย์ หรือ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ก็จะเลื่อนเวลาจ่ายเงิน เป็นก่อนวันที่ 10 ของเดือนนั้น ๆ ดังนั้นอาจจะได้รับเงินไม่ตรงวันที่ 10 ในแต่ละเดือน

ผู้สูงอายุหลายคน ที่ได้รับสิทธิ์รับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแล้ว แต่อาจยังไม่รู้ว่าเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเข้าวันไหนบ้างในแต่ละเดือน ทั้งนี้ภาครัฐกำหนดว่าผู้สูงอายุจะได้รับเบี้ยยังชีพในเดือนตุลาคมของทุกปี นับตั้งแต่ผู้สูงอายุมีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ในปีนั้น แต่เพราะการลงทะเบียนขอรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุจะเป็นการลงทะเบียนล่วงหน้าเพื่อรับเงินในปีงบประมาณถัดไป โดยภาครัฐจะโอนเงินให้ทุกวันที่ 10 ของทุกเดือน ซึ่งถ้าวันที่ 10 ของเดือนนั้น ๆ ตรงกับวันหยุดก็จะเลื่อนเวลาจ่ายเงิน เป็นก่อนวันที่ 10 ทำให้แต่ละเดือนจะได้รับเงินไม่ตรงกัน

 

เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุเป็นเงินที่ภาครัฐช่วยสนับสนุนรายได้ให้กับผู้สูงอายุ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย ค่าครองชีพของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นสิทธิและสวัสดิการที่ผู้สูงอายุชาวไทยทุกคนจะได้รับ และในกรณีที่เป็นผู้สูงอายุที่มีฐานะยากจน จะได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐที่จัดสรรผ่านบัตรสวัสดิการคนจนเพิ่มด้วย ผู้สูงอายุที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่ภาครัฐกำหนด สามารถไปขอรับสิทธิและสวัสดิการดังกล่าวได้ด้วยตัวเอง หรือมอบอำนาจให้คนในครอบครัวไปดำเนินเรื่องแทนได้

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับข่าวสังคม

ที่มาของบทความ

 

ติดตามอ่านข่าวสังคมได้ที่ ommachi.net

สนับสนุนโดย  ufabet369